โรคตาแห้งในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน และวิธีการบรรเทา

March, 26th 2024

รคตาแห้งพบได้บ่อยในผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน และวัยหลังหมดประจำเดือน1 หากยังไม่ได้รับการรักษา โรคตาแห้งจะแย่ลงและลดคุณภาพชีวิตของแต่ละคนอย่างมีนัยสำคัญ ในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับวัยหมดประจำเดือน ทำไมช่วงวัยหมดประจำเดือนจึงเพิ่มความเสี่ยงของโรคตาแห้ง และวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการตาแห้ง

วัยหมดประจำเดือน

วัยหมดประจำเดือน หมายถึง การที่ผู้หญิงหยุดมีประจำเดือนติดต่อกันเป็นระยะเวลา 12 เดือน การเปลี่ยนแปลงก่อนเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนมักจะเริ่มช่วงอายุระหว่าง 45-55 ปี และใช้เวลายาวนาน 7-14 ปี ทั้งนี้ระยะเวลาจะแตกต่างกันตามปัจจัยทางพันธุกรรมและวิถีชีวิต บางครั้งวัยหมดประจำเดือนสามารถเกิดขึ้นได้ก่อนธรรมชาติ หรือเนื่องจากการผ่าตัด (การผ่าตัดรังไข่ หรือ มดลูก) การรักษาโรคมะเร็ง หรือ สาเหตุทางพันธุกรรม2,3

วัยหมดประจำเดือนเป็นภาวะปกติทางร่างกายผู้หญิง ไม่ใช่โรคหรือความผิดปกติ โดยอาจมีหรือไม่มีอาการก่อนหมดประจำเดือนก็ได้ ซึ่งอาการจะประกอบด้วย:2–4

by_ic1ประจำเดือนมาไม่ปกติ
ช่วงความถี่ของการมีประจำเดือนสั้นลง ช่วงระยะเวลาการเป็นประจำเดือนนานขึ้น เลือดประจำเดือนออกมาก

by_ic2ร้อนวูบวาบ
รู้สึกร้อนวูบวาบ ใบหน้าและลำคอแดง ตามด้วยเหงื่อออกมากและหนาวสั่น อาการเหล่านี้พบได้บ่อย และสามารถคงอยู่ได้นานหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว อาการร้อนวูบวาบมักเกิดขึ้นภายใน 30 วินาที ถึง 10 นาที และเกิดขึ้น 2-3 ครั้งต่อชั่วโมง ต่อวัน หรือต่อสัปดาห์

by_ic_3ปัญหาช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะ
ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงจะลดการหล่อลื่น และความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อในช่องคลอด รวมถึงส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะและช่องคลอด กระเพาะปัสสาวะจะสูญเสียการควบคุมหรือที่เรียกว่ากลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และนำมาสู่การปัสสาวะกะทันหัน ปัสสาวะเล็ดขณะออกกำลังกาย จาม หรือหัวเราะ

by_ic4ปัญหาการนอนหลับ
อาการร้อนวูบวาบและเหงื่อออกตอนกลางคืน อาจเป็นสาเหตุให้มีปัญหาการนอนหลับ

by_ic5อารมณ์เปลี่ยนแปลง
ผู้หญิงอาจมีอารมณ์หงุดหงิดและเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้ามากขึ้น

by_ic6การสูญเสียมวลกระดูก
ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ต่ำลงจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดกระดูกพรุน และทำให้กระดูกเปราะ

by_ic7การเปลี่ยนแปลงระดับคอเลสเตอรอล
การเพิ่มขึ้นของระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (ไลโปโปรตีนชนิดที่มีความหนาแน่นต่ำ หรือ แอลดีแอล) และการลดลงของระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดี (ไลโปโปรตีนชนิดที่มีความหนาแน่นสูง หรือ เอชดีแอล) ทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ

ผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัยหลังหมดประจำเดือนจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและกระดูกพรุน นอกเหนือจากอาการที่กล่าวมาข้างต้น มีหลายการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโรคตาแห้งพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน และหลังหมดประจำเดือน5–7 ดังนั้นการดูแลดวงตาจึงมีบทบาทสำคัญต่อผู้หญิงทั้งวัยหมดประจำเดือนและหลังหมดประจำเดือน

ทำไมวัยหมดประจำเดือนจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคตาแห้ง?

การหมดประจำเดือนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคตาแห้ง
การหมดประจำเดือนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคตาแห้ง

ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะพบการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในร่างกาย เนื่องจากระดับฮอร์โมนเพศที่ลดลง โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจน แม้ว่าเหตุผลของการหมดประจำเดือนที่นำมาสู่การเกิดโรคตาแห้งยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่หลายการศึกษาก็แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างฮอร์โมนเพศและอาการตาแห้ง8,9 ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะควบคุมการสร้างชั้นไขมันของฟิล์มน้ำตา ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการระเหยของน้ำตา10,11 การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนอาจเพิ่มความเสี่ยงให้ฟิล์มน้ำตาขาดได้ง่าย (ฟิล์มน้ำตาไม่เสถียร) นำมาสู่การระคายเคืองและการระเหยของน้ำตาที่มากเกินไป นอกจากนี้ บางการศึกษาเสนอว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนอาจมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ8 ดังนั้นระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงอาจเพิ่มการอักเสบ ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคตาแห้งได้

วิธีการบรรเทาอาการตาแห้งในวัยหมดประจำเดือน

วิธีสำหรับบรรเทาอาการของโรคตาแห้งในวัยหมดประจำเดือน มีดังต่อไปนี้:12

by_ic8
การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้าสามอาจช่วยลดอาการตาแห้งได้ 13 สารโอเมก้าสามสามารถพบได้ในอาหารจำพวกปลาน้ำเย็นที่มีไขมันสะสม (เช่น แซลมอน แมคเคอเรล ทูน่า แฮร์ริ่ง ซาร์ดีน เป็นต้น) และอาหารทะเลอื่น ๆ ถั่วและเมล็ดพืช (เช่น เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเจีย วอลนัท เป็นต้น) น้ำมันพืช (เช่น น้ำมันแฟลกซ์ น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น) อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง (เช่น ไข่ โยเกิร์ต น้ำผลไม้ นม นมถั่วเหลือง เป็นต้น) การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีโอเมก้าสามอย่างน้ำมันปลา น้ำมันคริลล์ น้ำมันตับปลา และน้ำมันสาหร่ายจะช่วยให้เพิ่มระดับของโอเมก้าสามในร่างกาย14
by_ic9
การรักษาระดับน้ำในร่างกายให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำงานของร่างกาย เช่น การควบคุมอุณหภูมิ การป้องกันการติดเชื้อ และการขนส่งอาหารไปยังเซลล์ เป็นต้น โดยเฉพาะชั้นน้ำของฟิล์มน้ำตาที่มีองค์ประกอบของน้ำถึง 98%15 สำหรับผู้หญิงจะแนะนำให้ดื่มน้ำปะมาณ 11.5 ถ้วย (2.7 ลิตร) ต่อวัน ซึ่งอาจมาจากการดื่มน้ำเปล่า ชา กาแฟ การรับประทานผลไม้หรือผัก16
by_ic10

การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออาจช่วยบรรเทาอาการของโรคตาแห้งได้ เนื่องจากหลายการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการนอนหลับที่ผิดปกติอาจทำให้การหลั่งน้ำตาและความเสถียรของน้ำตาลดลง การหลีกเลี่ยงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอน หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในตอนกลางวันหรือเย็น การควบคุมความชื้นและอุณหภูมิภายในห้อง และการเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตาในเวลากลางคืน (โดยการใช้ยาหยอดตา เจล ขี้ผึ้ง) จะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น

by_ic11

น้ำตาเทียมที่มีส่วนประกอบที่ช่วยป้องกันเซลล์เยื่อบุผิวบนผิวดวงตา และกระตุ้นการฟื้นตัวจากการถูกทำลาย จะบรรเทาอาการตาแห้งและสร้างเกราะป้องกันชั่วคราวเพื่อปกป้องดวงตา น้ำตาเทียมส่วนใหญ่สามารถซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป อย่างไรก็ตามควรมีการปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้น้ำตาเทียม

Find the nearest Eye Clinic
แหล่งอ้างอิง
  1. Matossian, C.; McDonald, M.; Donaldson, K. E.; Nichols, K. K.; MacIver, S.; Gupta, P. K. Dry Eye Disease: Consideration for Women’s Health. J. Womens Health 2019, 28 (4), 502–514. https://doi.org/10.1089/jwh.2018.7041.
  2. Menopause. nhs.uk. https://www.nhs.uk/conditions/menopause/ (accessed 2022-11-07).
  3. What Is Menopause?. National Institute on Aging. https://www.nia.nih.gov/health/what-menopause (accessed 2022-11-07).
  4. Perimenopause - Symptoms and causes. Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/perimenopause/symptoms-causes/syc-20354666 (accessed 2022-11-07).
  5. P Maurya, R.; P Singh, V.; Chaudhary, S.; Roy, M.; Srivastav, T. Prevalence of Severe Dry Eye Disease in Postmenopausal Women in North India: A Teaching Hospital Study. Indian J. Obstet. Gynecol. Res. 2019, 6 (1), 94–96. https://doi.org/10.18231/2394-2754.2019.0021.
  6. Garcia-Alfaro, P.; Garcia, S.; Rodriguez, I.; Vergés, C. Dry Eye Disease Symptoms and Quality of Life in Perimenopausal and Postmenopausal Women. Climacteric 2021, 24 (3), 261–266. https://doi.org/10.1080/13697137.2020.1849087.
  7. Kumar, G. V.; . A.; Praneetha, G.; Pandharpurkar, A.; Prasad, B.; Pavani, G.; Vasavi, T.; Naik, A. A Study on Prevalence of Dry Eyes among Menopausal Women Attending a Tertiary Care Centre in Hyderabad, Telangana. Int. J. Community Med. Public Health 2018, 6 (1), 423. https://doi.org/10.18203/2394-6040.ijcmph20185266.
  8. Truong, S.; Cole, N.; Stapleton, F.; Golebiowski, B. Sex Hormones and the Dry Eye. Clin. Exp. Optom. 2014, 97 (4), 324–336. https://doi.org/10.1111/cxo.12147.
  9. Peck, T.; Olsakovsky, L.; Aggarwal, S. Dry Eye Syndrome in Menopause and Perimenopausal Age Group. J. -Life Health 2017, 8 (2), 51. https://doi.org/10.4103/jmh.JMH_41_17.
  10. Dartt, D. A.; Willcox, M. D. P. Complexity of the Tear Film: Importance in Homeostasis and Dysfunction during Disease. Exp. Eye Res. 2013, 117, 1–3. https://doi.org/10.1016/j.exer.2013.10.008.
  11. Song, X.; Zhao, P.; Wang, G.; Zhao, X. The Effects of Estrogen and Androgen on Tear Secretion and Matrix Metalloproteinase-2 Expression in Lacrimal Glands of Ovariectomized Rats. Investig. Opthalmology Vis. Sci. 2014, 55 (2), 745. https://doi.org/10.1167/iovs.12-10457.
  12. Lurati, A. R. Menopause and Dry Eye Syndrome. Nurs. Womens Health 2019, 23 (1), 71–78. https://doi.org/10.1016/j.nwh.2018.11.001.
  13. Deinema, L. A.; Vingrys, A. J.; Wong, C. Y.; Jackson, D. C.; Chinnery, H. R.; Downie, L. E. A Randomized, Double-Masked, Placebo-Controlled Clinical Trial of Two Forms of Omega-3 Supplements for Treating Dry Eye Disease. Ophthalmology 2017, 124 (1), 43–52. https://doi.org/10.1016/j.ophtha.2016.09.023.
  14. Office of Dietary Supplements - Omega-3 Fatty Acids. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Omega3FattyAcids-Consumer/ (accessed 2022-11-08).
  15. Kayal, A. The Physiology of Tear Film. In Dry Eye Syndrome - Modern Diagnostic Techniques and Advanced Treatments; M. Ferreri, F., Ed.; IntechOpen, 2022. https://doi.org/10.5772/intechopen.98945.
  16. How much water do you need to stay healthy?. Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/water/art-20044256 (accessed 2022-11-12).