เข้าใจโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองมากขึ้น รวมถึงผลกระทบต่อโรคตาแห้ง

กันยายน 20, 2023

โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองและโรคตาแห้ง
ระบบภูมิคุ้มกันของเราจะต้านการเกิดโรคและการติดเชื้อ โดยการมุ่งเป้าทำลายแบคทีเรียและไวรัสที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตนเองเกิดจากความผิดเพี้ยนของระบบภูมิคุ้มกันที่ระบุส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ผิวหนัง ต่อมไทรอยด์ หรือข้อต่อ เป็นต้น ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ผลที่ตามมาก็คือการโจมตีเซลล์ปกติของร่างกายโดยไม่ได้ตั้งใจ และทำให้เกิดการอักเสบ และบางกรณีอาจทำให้เกิดอาการตาแห้งเรื้อรัง1

โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองมีประมาณ 100 ชนิด ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายของเราได้เกือบทุกส่วน2 การวินิจฉัยโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองอาจทำได้ยาก เนื่องจากความเจ็บป่วย และสภาวะอื่นๆ อาจมีอาการคล้ายกัน เช่น เหนื่อยล้า ปวดข้อ ผื่นตามผิวหนัง ปวดท้อง หรือมีไข้กลับเป็นซ้ำ เป็นต้น อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นอย่างรุนแรงเพียงชั่วคราวในระหว่างที่มีการกำเริบ จากนั้นอาการจะดีขึ้นหรือหายไปเพียงชั่วขณะ3

ความผิดปกติของภูมิคุ้มกันทำลายตนเองที่มีรายงานว่าสัมพันธ์กับโรคตาแห้ง ได้แก่ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคสะเก็ดเงิน โรคแพ้ภูมิตนเองหรือเอสแอลอี (SLE) ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Grave's disease) กลุ่มอาการโจเกรน (Sjögren’s syndrome) ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hashimoto's thyroiditis) และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง4

 
icon_a8_01_eye.png
โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองมีผลต่อสุขภาพของดวงตาอย่างไร ?:
 

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดเมื่อระบบภูมิคุ้มกันโจมตีและทำลายเซลล์ที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลิน โดยทั่วไปโรคนี้จะได้รับการวินิจฉัยในวัยเด็กและวัยรุ่น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ก่อนหน้านี้เรียกว่าโรคเบาหวานในเด็ก

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1
จะไวต่อการเกิดต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติเป็นอย่างมาก5 ต่อมไขมันที่เปลือกตา (Meibomian glands) เป็นต่อมที่ผลิตน้ำมันซึ่งก่อตัวเป็นชั้นนอกของฟิล์มน้ำตาเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำตาระเหยเร็วเกินไป ผลการวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยเด็กบางรายที่เป็นโรคเบาหวานจากโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองจะมีความชุกของอาการตาแห้งที่สูงกว่ากลุ่มควบคุม และเด็กที่เป็นโรคเบาหวานมาเป็นเวลานานจะมีอาการตาแห้งก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนทางเมแทบอลิค (Metabolic complications)6 อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมานานอาจมีอาการทางตาน้อยลงได้เนื่องจากเกิดเส้นประสาทอักเสบจากการเป็นโรคเบาหวาน (Diabetic corneal neuropathy) ซึ่งภาวะนี้จะลดความไวของพื้นผิวดวงตา7, 8 ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการประเมินอย่างถี่ถ้วนแม้ว่าจะมีอาการตาแห้งเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีอาการก็ตาม

เบาหวานชนิดที่ 1 (T1DM) ในเด็กและวัยรุ่น
เบาหวานชนิดท 1 (T1DM) ในเด็กและวVยรุน

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองเรื้อรังที่มีผลต่อข้อต่อเป็นหลัก ภาวะแทรกซ้อนต่อดวงตาที่พบบ่อยที่สุดของโรคนี้คืออาการตาแห้ง และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ถือเป็นความผิดปกติของภูมิคุ้มกันทำลายตนเองที่มีความเชื่อมโยงกับอาการตาแห้งมากที่สุด9

ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มาเป็นเวลานานจะมีแนวโน้มเกิดอาการตาแห้งที่รุนแรงกว่าเมื่อเทียบกับผู้ที่เพิ่งเป็นโรค ความรุนแรงของอาการตาแห้งไม่สัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แต่จะสัมพันธ์กับระยะเวลา แม้แต่ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่มีอาการเล็กน้อยก็สามารถเกิดอาการตาแห้งได้ ดังนั้นผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ควรได้รับการประเมินอาการตาแห้งอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ต้องคำนึงถึงระดับความรุนแรงของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์10

โรคสะเก็ดเงิน/โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองเรื้อรังที่มีการกระตุ้นผิวหนังให้เพิ่มวงจรการเจริญเติบโตของเซลล์ ส่งผลให้เกิดรอยนูน แดง และมีสะเก็ดที่ผิวหนัง โดยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินถือเป็นข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นร่วมกับโรคสะเก็ดเงิน

อาการตาแห้งพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน11 บางการศึกษาพบว่าประมาณ 19% ของผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินจะเกิดอาการทางตา และสาเหตุหนึ่งของอาการตาแห้งในโรคดังกล่าวคือ การฝ่อ และการทำงานที่ผิดปกติของต่อม ซึ่งทำหน้าที่หลั่งน้ำมันของดวงตา12

โรคแพ้ภูมิตนเอง หรือเอสแอลอี (SLE)

โรคเอสแอลอี คือภาวะที่มีการอักเสบเป็นระยะเวลานาน ซึ่งสามารถส่งผลต่อผิวหนัง ข้อต่อ ไต เซลล์เม็ดเลือด และระบบประสาทได้ โรคดังกล่าวจะมีอาการที่หลากหลาย และเกิดขึ้นในอัตราที่ต่างกัน โดยมีตั้งแต่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ และค่อยเป็นค่อยไป ตลอดจนเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และรุนแรง13

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าอาการตาแห้งในผู้ที่เป็นโรคเอสแอลอีมีสาเหตุหลักมาจากกลุ่มอาการโจเกรน (Sjögren's syndrome) อย่างไรก็ตามมีหลักฐานมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่บ่งชี้ว่าอาการตาแห้ง และกลุ่มอาการโจเกรนอาจเป็นสภาวะที่ไม่เกี่ยวข้องกันในผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง14 โดยทั่วไปผู้ป่วยมักมีอาการเพียงเล็กน้อย และอาจมีการระคายเคือง และตาแดงร่วมด้วย แต่บางกรณีอาจเป็นไปได้ว่าจะเกิดอาการปวดตาอย่างรุนแรง และสูญเสียการมองเห็นได้

ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Grave's disease) และภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hashimoto's thyroiditis)

ทั้งภาวะไทรอยด์เป็นพิษ และภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ นับเป็นประเภทของโรคต่อมไทรอยด์ สำหรับภาวะไทรอยด์เป็นพิษซึ่งเกิดจากการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไป จะมีแนวโน้มเกิดอาการทางตาได้มากกว่า อย่างไรก็ตามผู้ที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ก็สามารถเกิดอาการทางตาได้เช่นกัน15

โรคเกรฟส์ในผู้ใหญ่
โรคเกรฟส์ในผู้ใหญ่

ในกรณีของภาวะไทรอยด์เป็นพิษที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่นๆ รอบดวงตาร่วมด้วย จะพบว่าเปลือกตาจะมีการรั้งไปทางด้านหลังมากผิดปกติทำให้เกิดตาโปน ภาวะดังกล่าวส่งผลยากต่อการหลับตาให้แนบสนิทและเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำตาระเหยอย่างรวดเร็ว ภาวะไทรอยด์เป็นพิษมักเกิดขึ้นกับดวงตาทั้งสองข้าง แต่บางครั้งดวงตาข้างหนึ่งอาจได้รับผลกระทบมากกว่าอีกข้าง16

กลุ่มอาการโจเกรน (Sjögren’s syndrome)

กลุ่มอาการโจเกรนเป็นความผิดปกติที่มีผลต่อร่างกายในบริเวณที่ทำหน้าที่ผลิตของเหลว เช่น น้ำตา น้ำลาย เป็นต้น เมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้เกิดอาการตาแห้ง และปากแห้งได้ ภาวะดังกล่าวมักเกิดร่วมกับความผิดปกติของภูมิคุ้มกันทำลายตนเองชนิดอื่น เช่น โรคลูปัส และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น17

การอักเสบของต่อมที่ทำหน้าที่ผลิตน้ำตาส่งผลให้ปริมาณน้ำตา และความเสถียรของฟิล์มน้ำตาลดลง และทำให้เกิดอาการตาแห้งได้18

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตนเองที่นำไปสู่การทำลายการสื่อสารระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงยังส่งผลต่อกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ควบคุมดวงตาและส่งผลให้การมองเห็นบกพร่อง เมื่อโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงส่งผลต่อกล้ามเนื้อดวงตาจะทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น หนังตาตก เห็นภาพซ้อน ตาแห้ง หรือมีปัญหาในการเพ่งมอง เป็นต้น อาการเหล่านี้มีแนวโน้มแย่ลงในช่วงท้ายของวัน โรคตาแห้งอาจเกิดขึ้นได้ถึง 21% ของผู้ป่วย เนื่องด้วยไม่สามารถปิดตาได้อย่างแนบสนิท และมีการกะพริบตาที่ลดลง ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อที่เปลือกตาอ่อนแรงนั่นเอง19, 20

วิธีรักษาอาการตาแห้งในผู้ที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองมีอะไรบ้าง ?

บางครั้งการรักษาโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองก็ช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้เช่นกัน แต่ผู้ป่วยมักต้องการการรักษาที่แยกออกจากกัน โดยจะขึ้นกับความรุนแรง และสภาวะของโรค สำหรับการรักษาที่เป็นไปได้ ได้แก่:21

icon_a8_02_over_the_counter.png
การใช้น้ำตาเทียมที่มีจำหน่ายทั่วไป โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์: ที่จะเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวดวงตา
icon_a8_03_eye_inserts.png
การใส่อุปกรณ์บางอย่างเข้าไปในดวงตา: เพื่อให้เกิดการปลดปล่อยน้ำตาเทียมตลอดทั้งวัน
icon_a8_04_tear_stimulating.png
การใช้ยาหยอดตาที่กระตุ้นการสร้างน้ำตา: เพื่อเพิ่มการผลิตน้ำตา
icon_a8_05_anti_inflammatory.png
การใช้ยาหยอดตาที่ต้านการอักเสบ: เพื่อลดการอักเสบแบบเฉพาะที่
icon_a8_06_autologous_blood.png
การใช้ยาหยอดตาซีรั่ม (Autologous blood serum drops): ซึ่งเลียนแบบคุณสมบัติทางชีวเคมีของน้ำตาธรรมชาติ เพื่อสมานแผลที่พื้นผิวดวงตา
icon_a8_07_scleral_contact_lenses.png
การใช้คอนแทคเลนส์แบบพิเศษ (Scleral contact lenses): ซึ่งทำหน้าที่กักเก็บน้ำ และให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาได้นานถึง 12 ชั่วโมง
icon_a8_08_punctal_plugs.png
การอุดท่อน้ำตา: เพื่อปิดท่อน้ำตา ไม่ให้น้ำตาถูกระบายออกจากดวงตา

สิ่งสำคัญคือ การขอคำแนะนำจากแพทย์อย่างทันท่วงที เมื่อมีภูมิต้านทานผิดปกติ และมีอาการตาแห้งเรื้อรัง

Find the nearest Eye Clinic
แหล่งอ้างอิง
  1. Autoimmune Diseases. Medline Plus. https://medlineplus.gov/autoimmunediseases.html (accessed 2023-02-28).
  2. Autoimmune Disease Basics. Global Autoimmune Institute. https://www.autoimmuneinstitute.org/autoimmune-disease-basics/ (accessed 2023- 02-28).
  3. Dry Eyes With Immune Disorders. WebMD. https://www.webmd.com/eyehealth/dry-eyes-immune-system-disorders (accessed 2023-02-28).
  4. What Causes Concurrent Dry Eyes and Dry Mouth? Healthline. https://www.healthline.com/health/dry-eyes-and-mouth (accessed 2023-02-28).
  5. Arunachalam, C. and Shamsheer R.P.. A clinical study of meibomian gland dysfunction in patients with diabetes. Middle East African Journal of Ophthalmology 2015;22(4): 462–466.
  6. Akinci, A., et al. Dry Eye Syndrome in Diabetic Children. European Journal of Ophthalmology 2018;17(6):873-878.
  7. Guzel, B., et al. Diabetic corneal neuropathy: clinical perspectives. Clinical Ophthalmology 2018;12:981-987.
  8. Zhang, X., et al. Dry Eye Syndrome in Patients with Diabetes Mellitus: Prevalence, Etiology, and Clinical Characteristics. Journal of Ophthalmology 2016;2016:1-7.
  9. Evren Kemer, O. Dry Eye in Rheumatoid Arthritis. International Ophthalmology Clinics. 2017;57(2):89-99.
  10. Abd-Allah, N.M., et al. Dry eye in rheumatoid arthritis: relation to disease activity. Immunological Medicine. 2020;43(2):92-97.
  11. Her, Y., et al. Dry eye and tear film functions in patients with psoriasis. Japanese Journal of Ophthalmology. 2013;57(4):341-346.
  12. Taheri, A.R., et al. The study of dry eye and meibomian glands in psoriasis. European Journal of Ophthalmology. 2021;32(2): 853-858.
  13. Systemic Lupus Erythematosus (SLE). Medscape. https://emedicine.medscape.com/article/332244-overview (accessed 2023-02-28).
  14. Chen, A., et al. Severity of dry eye syndrome is related to anti-dsDNA autoantibody in systemic lupus erythematosus patients without secondary Sjogren syndrome. Medicine. 2016;95(28):e4218.
  15. Kan, E., et al. Presence of Dry Eye in Patients with Hashimoto's Thyroiditis. Journal of Ophthalmology. 2014;2014:754923.
  16. Graves' Eye Disease. National Eye Institute. https://www.nei.nih.gov/learn-abouteye-health/eye-conditions-and-diseases/graves-eye-disease (accessed 2023-02-28).
  17. What you need to know about Sjogren's Syndrome. Lupus Foundation of America. https://www.lupus.org/resources/what-you-need-to-know-about-sjogrens-syndrome (accessed 2023-02-28).
  18. Dry Eye. Sjögren's foundation. https://sjogrens.org/understandingsjogrens/symptoms/dry-eye (accessed 2023-02-28).
  19. Roh, H.S., et al. Comparison of Clinical Manifestations between Patients with Ocular Myasthenia Gravis and Generalized Myasthenia Gravis. Korean Journal of Ophthalmology. 2011;25(1):1-7.
  20. Maintaining Eye Health with Myasthenia Gravis. Myasthenia-Gravis.com. https://myasthenia-gravis.com/clinical/eye-health (accessed 2023-02-28).
  21. Dry Eye - Diagnosis and treatment. Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dry-eyes/diagnosis-treatment/drc20371869 (accessed 2023-02-28).
Detect dry eye
 
Let’s quickly assess your symptoms using the 
Five‐item Dry Eye Questionnaire (DEQ-5).
START NOW
 
This quick test is not a medical evaluation and does not replace a visit to an eye care professional who can take decisions on medical treatment, diagnosis, or prescription.