ทำไมคนที่เป็นโรคเบาหวานมีแนวโน้มเกิดโรคตาแห้งได้มากกว่าคนที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน?

April 10th, 2024

ทำไมคนที่เป็นโรคเบาหวานจึงมีแนวโน้มเกิดโรคตาแห้งได้มากกว่าคนที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน ?
โรคตาแห้ง (Dry eye disease หรือ Keratoconjunctivitis sicca) จะพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หลายการศึกษาแสดงให้เห็นว่า 54% ของผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีอาการตาแห้ง1 แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างสองภาวะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ก็มีปัจจัยหลายประการที่อาจส่งผลให้เกิดอาการตาแห้งในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานถือเป็นภาวะเรื้อรังที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลของร่างกาย (น้ำตาลกลูโคส) เมื่อรับประทานอาหารเข้าไป ร่างกายจะสลายอาหารให้เป็นน้ำตาลกลูโคสและเข้าสู่กระแสเลือด ตับอ่อนจะผลิตฮอร์โมนที่เรียก อินซูลิน ซึ่งจะช่วยให้เซลล์ในร่างกายได้ใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นพลังงาน ในปีพ.ศ. 2564 พบว่าประชากรมากกว่า 530 ล้านคนทั่วโลกเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นประชากรในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า 90 ล้านคน โดยมีการคาดการณ์ว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 783 ล้านคนในปีพ.ศ. 25882

โรคเบาหวานแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดที่ 2 และเบาหวานขณะตั้งครรภ์:

icon_a7_01_type1.png
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีผลโจมตี และทำลายเซลล์ในตับอ่อนซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลิน นั่นหมายความว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้อย่างเพียงพอต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะพบประมาณ 5-10% ของผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด โดยจะแสดงอาการแต่เนิ่นๆ3 โรคเบาหวานชนิดนี้มักเกิดขึ้นในวัยเด็ก หรือวัยหนุ่มสาว และต้องรักษาด้วยยาฉีดอินซูลินตลอดชีวิต
icon_a7_02_type2.png
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดเมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดยังคงสูงผิดปกติ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะพบประมาณ 90-95% ของผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด โดยทั่วไปจะใช้เวลาหลายปีถึงจะกลายเป็นโรคเบาหวานชนิดนี้ และมักได้รับการวินิจฉัยในวัยผู้ใหญ่3 อย่างไรก็ตามพบว่าวัยหนุ่มสาวจำนวนมากกำลังเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากขึ้นเรื่อยๆ4 และกลายเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญไปทั่วโลก
icon_a7_03_type3.png
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์โดยที่ไม่เคยมีประวัติเป็นโรคเบาหวานมาก่อน ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงทางด้านสุขภาพของทารกได้ แม้ว่าโดยทั่วไปภาวะดังกล่าวจะหายไปหลังจากคลอดลูก แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคต นอกจากนี้เด็กอาจมีโอกาสเป็นโรคอ้วนในช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่น และอาจพัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ในภายหลัง
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

หากไม่ทำการรักษาโรคเบาหวานจะนำมาสู่ปัญหาทางสุขภาพได้หลายประการ เช่น ไตถูกทำลาย ปัญหาทางด้านดวงตา โรคหัวใจ และหลอดเลือด เป็นต้น5-7 โรคเบาหวานเป็นสาเหตุหลักของการเกิดไตวาย การตัดขาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และเกิดตาบอดในวัยผู้ใหญ่2 ผลต่อดวงตาที่จะเกิดขึ้นตามมา ได้แก่ ต้อกระจก ต้อหิน และเบาหวานขึ้นจอประสาทตา โดยบุคลากรทางการแพทย์มีบทบาทสำคัญที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยในการจัดการระดับน้ำตาลในเลือด และยึดหลักการดำเนินชีวิตเพื่อสุขภาพที่ดี (Healthy lifestyle) เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน

ทำไมคนที่เป็นโรคเบาหวานจึงมีแนวโน้มเกิดโรคตาแห้งได้มากกว่าคนที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน ?

โรคเบาหวานอาจทำให้เกิดอาการตาแห้งได้หลายวิธี รวมถึงส่งผลต่อการทำงานของต่อมน้ำตา ต่อมไขมันที่เปลือกตา (Meibomian glands) และเส้นประสาทตาได้ ระดับฮอร์โมนอินซูลินที่ไม่เพียงพอทำให้การผลิตน้ำตาลดลง เนื่องจากฮอร์โมนอินซูลินมีความสำคัญต่อการทำงานที่เหมาะสมของต่อมน้ำตา ในขณะเดียวกันการมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงสามารถทำลายเส้นประสาท และทำให้เกิดการอักเสบได้ ส่งผลให้เกิดความบกพร่องของการผลิตน้ำตา และการไหลเวียนของน้ำมันจากต่อมไขมันที่เปลือกตาซึ่งทำหน้าที่ป้องกันการระเหยของน้ำตา โดยโรคเบาหวานอาจเหนี่ยวนำให้จำนวนเซลล์บริเวณเยื่อบุตาที่ทำหน้าที่สร้างเมือกลดลง การผลิตเมือกลดลง และเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของน้ำตาที่พื้นผิวดวงตาซึ่งทำให้ฟิล์มน้ำตาขาดความเสถียร ผลกระทบดังกล่าวสามารถนำมาสู่การลดทั้งปริมาณ และคุณภาพของน้ำตา และส่งผลให้เกิดอาการตาแห้ง และรู้สึกไม่สบายตาได้8

ภาวะแทรกซ้อนของโรคตาแห้งที่สัมพันธ์กับโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอาการตาแห้งอาจมีอาการคล้ายผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งประกอบด้วย รู้สึกเหมือนมีเม็ดทรายเข้าตา ปวดตา ตาแดง การมองเห็นพร่ามัว และมีน้ำตาไหลมากผิดปกติโดยอาจเกิดจากการที่ดวงตาพยายามชดเชยอาการตาแห้งเรื้อรังด้วยการผลิตน้ำตาที่มากเกินไป กรณีที่รุนแรงขึ้นอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น รอยโรคที่กระจกตา เยื่อบุตาอักเสบ ตาอักเสบ เป็นต้น สำหรับความรู้สึกเหมือนมีทรายเข้าตาจะเป็นอาการเด่นของผู้ป่วยโรคตาแห้งที่สัมพันธ์กับโรคเบาหวาน1,8

ความรุนแรงของอาการตาแห้งจะเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมาเป็นระยะเวลานานจะมีอาการน้อยกว่า โดยอาจเกิดจากความไวบริเวณกระจกตาลดลง เนื่องด้วยการเกิดปลายประสาทอักเสบจากการเป็นโรคเบาหวาน (Diabetic peripheral corneal neuropathy)9 สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการจะมีแนวโน้มได้รับการดูแลรักษาเพียงเล็กน้อย8

เคล็ดลับเพื่อป้องกัน และบรรเทาอาการตาแห้งที่สัมพันธ์กับโรคเบาหวาน

การตรวจหาโรคตาแห้งที่สัมพันธ์กับโรคเบาหวานตั้งแต่เนิ่นๆ และการรักษาเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยทั่วไปเคล็ดลับเพื่อบรรเทาอาการตาแห้งของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และไม่ได้เป็นโรคเบาหวานจะคล้ายคลึงกัน ซึ่งประกอบด้วยการจำกัดการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การเพิ่มความชื้นในอากาศ และการใช้น้ำตาเทียม นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรได้รับตรวจพื้นผิวดวงตา และการทำงานของน้ำตาอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนขอคำแนะนำจากจักษุแพทย์อย่างทันท่วงทีเกี่ยวกับอาการทางตาของตนเอง8

ผู้ป่วยเบาหวานกำลังตรวจตา
ผู้ป่วยเบาหวานกำลังตรวจตา

วิธีสำคัญในการป้องกันโรคตาแห้งที่สัมพันธ์กับโรคเบาหวานคือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ตามเคล็ดลับดังต่อไปนี้:10, 11

icon_a7_04_eat_a_healthy.png
รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลทรายแดง บัควีท ข้าวโอ๊ตเต็มเมล็ด ผัก ถั่วชิกพี ถั่วเลนทิล ฯลฯ
icon_a7_05_cut_down_on_sugar.png
ลดปริมาณน้ำตาล
icon_a7_06_monitor_your_glucose.png
ติดตามระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ
icon_a7_07_avoid_smoking.png
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
icon_a7_08_cholesterol_levels.png
ควบคุมระดับความดันโลหิต และคอเลสเตอรอล
icon_a7_09_exercise_regularly.png
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  Find the nearest Eye Clinic
แหล่งอ้างอิง
  1. Manaviat, M. R.; Rashidi, M.; Afkhami-Ardekani, M.; Shoja, M. R. Prevalence of Dry Eye Syndrome and Diabetic Retinopathy in Type 2 Diabetic Patients. BMC Ophthalmol. 2008;8(1):10.
  2. ATLAS, IDF Diabetes. Diabetes around the world in 2021. International Diabetes Federation, 2021.
  3. CDC. What is Diabetes? Centers for Disease Control and Prevention. https://www.cdc.gov/diabetes/basics/diabetes.html (accessed 2023-02-17).
  4. Xie, J.; Wang, M.; Long, Z.; Ning, H.; Li, J.; Cao, Y.; Liao, Y.; Liu, G.; Wang, F.; Pan, A. Global Burden of Type 2 Diabetes in Adolescents and Young Adults, 1990-2019: Systematic Analysis of the Global Burden of Disease Study 2019. BMJ 2022, e072385.
  5. Diabetic nephropathy (kidney disease) - Symptoms and causes. Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetic-nephropathy/symptoms-causes/syc20354556 (accessed 2023-02-17).
  6. CDC. Diabetes and Vision Loss. Centers for Disease Control and Prevention. https://www.cdc.gov/diabetes/managing/diabetes-vision-loss.html (accessed 2023-02-17).
  7. CDC. Diabetes and Your Heart. Centers for Disease Control and Prevention. https://www.cdc.gov/diabetes/library/features/diabetes-and-heart.html (accessed 2023-02-17).
  8. Zhang, X.; Zhao, L.; Deng, S.; Sun, X.; Wang, N. Dry Eye Syndrome in Patients with Diabetes Mellitus: Prevalence, Etiology, and Clinical Characteristics. J. Ophthalmol. 2016;2016:8201053.
  9. Bunya, V.; Fuerst, N.; Langelier, N.; Massaro-Giordano, M.; Pistilli, M.; Burns, C.; Cardillo, S.; Stasi, K. Tear Osmolarity and Dry Eye Symptoms in Diabetics. Clin. Ophthalmol. 2014:8:507-15.
  10. 10 tips for healthy eating with diabetes. Diabetes UK. https://www.diabetes.org.uk/guide-todiabetes/enjoy-food/eating-with-diabetes/10-ways-to-eat-well-with-diabetes (accessed 2023-02-17).
  11. Diabetes care: 10 ways to avoid complications. Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/in-depth/diabetes-management/art20045803 (accessed 2023-02-17).