สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาโรคต้อหิน

December 28th, 2023

โรคต้อหิน คืออะไร ?

รคต้อหิน หมายถึง สภาวะทางตาที่เกิดจากเส้นประสาทตา ซึ่งทำหน้าที่ส่งสัญญาณเกี่ยวกับการมองเห็นจากจอประสาทตาไปยังสมองถูกทำลาย โดยเป็นผลมาจากความดันในลูกตาที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเกิดจากการสะสมของของเหลวอันเนื่องมาจากการผลิตน้ำตาที่มากเกินไป หรือเกิดจากการอุดตัน ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคต้อหินอาจสูญเสียการมองเห็นได้ หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงที โดยโรคต้อหินสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัย แต่จะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ1

โรคต้อหินสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่:11

by5 icon1
โรคต้อหินมุมเปิดปฐมภูมิ (Primary open-angle glaucoma)
โรคต้อหินชนิดนี้สามารถพบได้บ่อยที่สุด (90% ของผู้ป่วยโรคต้อหิน) ซึ่งจะมีความชุกสูงโดยเฉพาะในคนเอเชียsup>2 ช่วงแรกผู้ป่วยจะมีอาการเพียงเล็กน้อย และอาจไม่ทันสังเกตถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น โดยในระยะแรกของโรคอาจพบว่าผู้ป่วยเริ่มได้รับผลกระทบจากการมองเห็นภาพด้านข้าง (ภาพแคบลง) ซึ่งภาวะดังกล่าวมักเกิดขึ้นกับดวงตาทั้งสองข้าง3
by5 icon2
โรคต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน (Acute angle-closure glaucoma)
เป็นภาวะฉุกเฉิน ซึ่งเกิดจากความดันในลูกตาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเป็นผลมาจากการอุดตันของน้ำที่ไหลเวียนในลูกตา ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดตา และตาพร่ามัวที่ดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง และมองเห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟเมื่อมองที่หลอดไฟ4
by5 icon3
โรคต้อหินทุติยภูมิ (Secondary glaucoma)
เกิดจากสภาวะทางตา หรือความผิดปกติทางการแพทย์ด้านอื่นๆ เช่น ตาอักเสบ, ตาได้รับบาดเจ็บ, โรคเบาหวาน, หรือการใช้ยาหยอดตาที่มีสเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน5, 6
by5 icon4
โรคต้อหินแต่กำเนิด (Childhood หรือ congenital glaucoma)
เป็นชนิดที่พบได้ยาก มักเกิดในเด็กเล็ก และสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ โดยเกิดจากความผิดปกติของระบบระบายน้ำในลูกตา7


สาเหตุของโรคต้อหินยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตามมีปัจจัยบางประการที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงของโรคได้:

by5 icon5
อายุ
ประมาณ 1% ของผู้ที่มีอายุ 40 ปีจะเป็นโรคต้อหิน โดยอัตราการเกิดโรคต้อหินจะเพิ่มขึ้น 10% ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 80 ปี8
by5 icon6
เชื้อชาติ
แอฟริกัน, แคริบเบียน, และเอเชียมีแนวโน้มการเกิดโรคต้อหินมากกว่าเชื้อชาติอื่น9
by5 icon7
ประวัติครอบครัว
การมีบิดา มารดา หรือพี่น้องที่เป็นโรคต้อหิน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อหินได้10
by5 icon8
สภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน หรือโรคอ้วน เป็นต้น10


มีความเชื่อมโยงระหว่างโรคต้อหิน และโรคตาแห้งหรือไม่?

โรคต้อหิน และตาแห้งมักเกิดขึ้นร่วมกัน หลายการศึกษาพบว่าประมาณ 40-60% ของผู้ป่วยโรคต้อหินจะมีอาการตาแห้งร่วมด้วย11

สาเหตุประการหนึ่งเกิดจากกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับโรคตาแห้ง และต้อหินมักมีความคล้ายคลึงกัน ยกตัวอย่างเช่น โรคตาแห้ง และต้อหินมักเกิดในผู้ป่วยสูงอายุ และผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, หรือโรคอ้วน เป็นต้น11,12

โรคต้อหิน และตาแห้งมักเกิดขึ้นร่วมกัน
โรคต้อหิน และตาแห้งมักเกิดขึ้นร่วมกัน

นอกจากนี้โรคตาแห้งอาจมีสาเหตุมาจากการใช้ยาหยอดตาสำหรับรักษาโรคต้อหินได้ด้วย โดยยาหยอดตาดังกล่าวมักมีส่วนประกอบของเบนซาลโคเนียมคลอไรด์ (Benzalkonium chloride หรือ BAK) ซึ่งเป็นสารกันเสียที่มีผลต่อเซลล์ของผิวดวงตา และนำมาสู่อาการตาแห้งได้ บางการศึกษาเชื่อว่าเบนซาลโคเนียมคลอไรด์สามารถสร้างความเสียหายต่อเซลล์ที่ทำหน้าที่ผลิตสารเมือก ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ช่วยให้ฟิล์มน้ำตาเสถียร และป้องกันอาการตาแห้งได้13, 14

วิธีการรักษาโรคต้อหิน และอาการตาแห้งทำได้อย่างไร ?

การรักษาโรคตาแห้ง และต้อหินในเวลาเดียวกันอาจเป็นสิ่งท้าทายสำหรับผู้ป่วย และแพทย์ การรักษาโรคตาแห้งมีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพผิวของดวงตาในระยะยาว ตลอดจนช่วยให้ผู้ป่วยมีความสะดวกสบายมากขึ้น ซึ่งบ่อยครั้งจะมุ่งเน้นเพื่อรักษาฟิล์มน้ำตาบนผิวดวงตาให้เพียงพอ อย่างไรก็ตามมักจะให้ความสำคัญต่อการรักษาโรคต้อหินเป็นลำดับแรก เนื่องจากหากไม่ได้รับการรักษาโรคต้อหินอย่างทันท่วงทีและเหมาะสม สามารถนำมาสู่การบกพร่องทางการมองเห็นอย่างรุนแรง หรือสูญเสียการมองเห็นได้ สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคต้อหินร่วมกับตาแห้ง แพทย์สามารถปรับเปลี่ยนแนวทางการรักษาได้ โดยขึ้นกับสาเหตุ และสภาวะของอาการตาแห้ง:

การลดการสัมผัสสารกันเสีย

by5 icon9
เปลี่ยนไปใช้ยาหยอดตาปราศจากสารกันเสีย สำหรับรักษาโรคต้อหิน
การใช้ยาหยอดตาแบบรายวันที่ไม่มีสารกันเสีย สามารถหลีกเลี่ยงอาการตาแห้งที่มีผลมาจากเบนซาลโคเนียมคลอไรด์ได้14, 15 อย่างไรก็ตามยาสำหรับรักษาโรคต้อหินทุกตัวไม่ได้มีสูตรตำรับที่ปราศจากสารกันเสียทั้งหมด นอกจากนี้ควรพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายร่วมด้วย เนื่องจากยาหยอดตาแบบรายวันจะมีราคาแพงกว่า ดังนั้นอาจมีความยุ่งยากสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ค่อยมีสภาพคล่องทางการเงินมากนัก14, 16
by5 icon10
เลือกใช้ยาหยอดตาที่มีตัวยาหลายตัวในหลอดเดียว
การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของยาตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป หมายถึง การใช้จำนวนหยดยาในการหยอดตาที่น้อยลง และลดการใช้สารกันเสียที่จะเข้าสู่ดวงตาได้14
by5 icon11
การผ่าตัดด้วยเลเซอร์
เป็นทางเลือกสำหรับการรักษาขั้นแรกในผู้ป่วยรายใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคต้อหิน โดยเลเซอร์สามารถช่วยในการไหลเวียนของน้ำในตา และลดความจำเป็นในการใช้ยาหยอดตาสำหรับรักษาโรคต้อหินได้ อย่างไรก็ตามวิธีนี้ไม่สามารถรักษาโรคต้อหินให้หายขาดอย่างถาวรได้ เนื่องจากผลของการผ่าตัดอาจลดลงเมื่อระยะเวลาผ่านไป17


การรักษาโรคตาแห้ง

by5 icon12
การใช้น้ำตาเทียม
เป็นการรักษาเบื้องต้นสำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งเล็กน้อย น้ำตาเทียมจะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับน้ำตาธรรมชาติ ซึ่งถือว่าเป็น “อาหารที่มีคุณค่า (functional food)” สำหรับดวงตาที่มีความแห้ง โดยน้ำตาเทียมจะทำหน้าที่เป็นสารที่เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวดวงตา17
by5 icon13
การใช้สารหล่อลื่น
การใช้เจล หรือขี้ผึ้งเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นเป็นอีกทางเลือกสำหรับการรักษาโรคตาแห้ง โดยขี้ผึ้งจะช่วยสร้างความสบายตาด้วยคุณสมบัติหล่อลื่นจากตัวขี้ผึ้งเอง ซึ่งจะมีประสิทธิภาพเมื่อใช้เป็นระยะเวลานาน และบ่อยครั้งมักใช้ตอนก่อนนอน17
by5 icon14
การทำความสะอาดเปลือกตา
เป็นวิธีง่าย ๆ สำหรับบรรเทาภาวะตาแห้ง ภายในเปลือกตาจะมีต่อมมากมายซึ่งทำหน้าที่หลั่งน้ำมันออกมาเพื่อลดการระเหยของน้ำตา การที่ตาอักเสบจะทำให้ต่อมเหล่านี้เกิดการอุดตัน และการใช้ยาหยอดตาสำหรับรักษาโรคต้อหินที่มีสารออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ยิ่งส่งผลให้ภาวะดังกล่าวแย่กว่าเดิม ซึ่งการนวด และทำความสะอาดบริเวณรอบๆ ดวงตาจะช่วยให้ต่อมดังกล่าวยังคงทำงานได้ตามปกติ17
by5 icon15
การอุดท่อน้ำตาเพื่อรักษาอาการตาแห้ง (Punctal plug insertion)
เป็นเทคนิคการรักษาอาการตาแห้ง โดยใส่อุปกรณ์เข้าไปในรูเปิดท่อน้ำตาที่อยู่ตรงมุมตา ซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำตามักไหลไปยังจมูกและลำคอ เทคนิคนี้จะช่วยให้ดวงตามีน้ำหล่อลื่น อันเนื่องมาจากการที่น้ำตาจะอยู่บริเวณผิวของดวงตามากขึ้น18
  Find the nearest Eye Clinic
แหล่งอ้างอิง
  1. Glaucoma. https://www.nhs.uk/conditions/glaucoma/.
  2. Belamkar, A., et al., Asian Race and Primary Open-Angle Glaucoma: Where Do We Stand? Journal of Clinical Medicine, 2022. 11(9).
  3. What is Primary Open-Angle Glaucoma? https://glaucoma.org/what-isprimary-open-angle-glaucoma/
  4. Murray, M.T., 173 - Glaucoma: Acute (Angle Closure) and Chronic (Open Angle), in Textbook of Natural Medicine (Fifth Edition). 2020. p.1344-1348.e1.
  5. Roberti, G., et al., Steroid-induced glaucoma: Epidemiology, pathophysiology, and clinical management. Survey of Ophthalmology, 2020. 65(4): p. 458-472.
  6. Liu, W., et al., Co-occurrence of chronic kidney disease and glaucoma: Epidemiology and etiological mechanisms. Survey of Ophthalmology, 2023. 68(1): p. 1-16.
  7. Ko, F., M. Papadopoulos, and P.T. Khaw, Primary congenital glaucoma, in New Trends in Basic and Clinical Research of Glaucoma: A Neurodegenerative Disease of the Visual System, Part B. 2015. p. 177-189.
  8. Friedman, D.S., et al., Prevalence of open-angle glaucoma among adults in the United States. Arch Ophthalmol, 2004. 122(4): p. 532-8.
  9. Allison, K., D. Patel, and O. Alabi, Epidemiology of Glaucoma: The Past, Present, and Predictions for the Future. Cureus, 2020.
  10. McMonnies, C.W., Glaucoma history and risk factors. Journal of Optometry, 2017. 10(2): p. 71-78.
  11. Nijm, L.M., et al., Understanding the Dual Dilemma of Dry Eye and Glaucoma: An International Review. Asia-Pacific Journal of Ophthalmology, 2020. 9(6): p. 481-490.
  12. Erb, C., Prevalence of Dry Eye Disease in Glaucoma. European Ophthalmic Review, 2009. 03(02).
  13. Datta, S., et al., The Eye Drop Preservative Benzalkonium Chloride Potently Induces Mitochondrial Dysfunction and Preferentially Affects LHON Mutant Cells. Investigative Opthalmology & Visual Science, 2017.58(4).
  14. Goldstein, M.H., et al., Ocular benzalkonium chloride exposure:problems and solutions. Eye, 2021. 36(2): p. 361-368.
  15. Bagnis, A., et al., Antiglaucoma drugs: The role of preservative-free formulations. Saudi Journal of Ophthalmology, 2011. 25(4): p. 389-394.
  16. Bell, N. and L. Rosin, Preservative toxicity in glaucoma medication: clinical evaluation of benzalkonium chloride-free 0.5% timolol eye drops. Clinical Ophthalmology, 2013.
  17. Dry Eyes and Glaucoma: Double Trouble. https://glaucoma.org/dry-eyesand- glaucoma-double-trouble/.
  18. Sherwin, J.C., et al., Effect of a punctal plug on ocular surface disease in patients using topical prostaglandin analogues: a randomized controlled trial. Clinical & Experimental Ophthalmology, 2018. 46(8): p. 888-894.