โรคตาแห้งในเด็ก: สาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกันและรักษา
‘หมอครับ ลูกของผมกะพริบตาถี่มาก และปวดตาด้วยครับ’
ประโยคดังกล่าวเป็นหนึ่งในอาการที่แพทย์ได้ยินบ่อยที่สุด แล้วเมื่อไหร่ที่ผู้ปกครองควรมีความวิตกกังวล?
โรคตาแห้งมักถูกมองข้ามในเด็ก เนื่องจากเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ไม่สามารถสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่ว
โรคตาแห้งสามารถทำให้เด็กเหล่านี้มีอาการไม่สบายตา และบางครั้งมีการมองเห็นที่พร่ามัวได้
โรคตาแห้งที่ไม่ได้รับการรักษาสามารถนำมาสู่การเกิดผิวกระจกตาที่ไม่สม่ำเสมอ และส่งผลให้เกิดสายตาเอียง โดยสายตาเอียงมักเกิดจากรูปร่างของกระจกตาที่ผิดปกติ ซึ่งสามารถส่งผลต่อการมองเห็นได้ สายตาเอียงที่เกิดขึ้นในเด็กเล็กที่อายุต่ำว่า 7 ปี สามารถนำมาสู่ภาวะแทรกซ้อนอย่างโรคตาล้า หรือตาขี้เกียจ (amblyopia) ได้ ดังนั้นเด็กที่เป็นโรคตาแห้งเรื้อรังต้องได้รับการตรวจอย่างละเอียดเพื่อแยกแยะภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
ตัวอย่างของอาการ และอาการแสดงของโรคตาแห้งในเด็กที่สามารถพบได้ทั่วไป ได้แก่
อาการ และอาการแสดงของโรคตาแห้งในเด็ก
- กระพริบตาบ่อย ๆ
- 'ปวด' ในดวงตา – บ่อยครั้งเด็กจะบอกว่า 'ปวด' ในดวงตา ซึ่งแท้จริงแล้วหมายความถึงอาการที่รู้สึกไม่สบายตา เหมือนมีทราย หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตา
- ปวดหัว – โดยจะรู้สึกหนัก หรือมีแรงกดดันรอบดวงตา
- ตาไวต่อแสง – โดยจะไม่ชอบแสงแดด หรือห้องที่มีแสงสว่างจ้า
- ขยี้ตา
- ตาแดง และมีน้ำตาไหลตลอดเวลา
สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่
- อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ – การใช้เวลากับหน้าจอกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับการเกิดโรคตาแห้งในเด็ก
- โรคภูมิแพ้ – พบบ่อยมากขึ้นในเด็ก ซึ่งบ่อยครั้งที่เด็กเหล่านี้จะมีอาการน้ำมูกไหล (โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้) และผื่นที่ผิวหนัง (ผิวหนังอักเสบ) ร่วมด้วย
- โรคต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ (Meibomian gland disease)/โรคเปลือกตาอักเสบ – ซึ่งบ่อยครั้งจะถูกมองข้าม หรือทำการรักษาแบบโรคภูมิแพ้ขึ้นตา ซึ่งอาจพบก้อน และตุ่มขึ้นซ้ำที่เปลือกตาร่วมด้วย (เหมือนตากุ้งยิงแบบที่มี และไม่มีอาการ)
- ภาวะขนตาล่างม้วนในเด็ก (Epiblepharon) หรือขนตาทิ่มกลับเข้าตา – ภาวะดังกล่าวมักมีผลกระทบต่อเด็กเอเชียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเด็กต้องทนทุกข์ทรมานจากการขยี้ตาอย่างต่อเนื่อง จากการที่มีขนตาทิ่มเข้าตา
- การใส่คอนแทคเลนส์ และยาหยอดตาที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ที่มีส่วนประกอบของสารกันเสีย
- ภาวะอื่น ๆ ที่พบน้อย – ภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง, ภาวะทุพโภชนาการอย่างรุนแรง
วิธีการป้องกัน และการรักษา
- ลดการใช้เวลาอยู่กับหน้าจอ
- ควรทราบสารก่อภูมิแพ้
- พบจักษุแพทย์เพื่อแยกโรคประจำตัวที่สามารถรักษาได้ และส่งผลต่อดวงตา เช่น ภูมิแพ้ เปลือกตาอักเสบ ภาวะขนตาล่างม้วนในเด็ก และ ปัญหาที่เกิดจากการใช้คอนแทคเลนส์ เป็นต้น
Consultant Ophthalmologist & Cataract Surgeon
ISEC Penang, 229G Jalan Burma, 10050 Georgetown, Penang, Malaysia
ISEC Healthcare Ltd.,101 Thomson Road, #09-04 United Square, Singapore 307591