เข้าใจกระบวนการและเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดสายตาและสุขภาพดวงตา
โดยทั่วไปการตรวจสายตามักทำที่คลินิกหรือโรงพยาบาล ซึ่งจะอาศัยเครื่องมือที่แตกต่างกันเพื่อช่วยตรวจโครงสร้างของดวงตา บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยมักได้รับคำถามว่าถึงความกังวลของอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย และสัมพันธ์กับอาการทางตาที่เกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งอาจจะมีความเกี่ยวข้องกัน ตามด้วยการทดสอบระดับการมองเห็นโดยการใช้แผ่นทดสอบสายตาที่เป็นมาตรฐานโดยปกติจะใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที ซึ่งขั้นตอนนี้มีความสำคัญมากในการกำหนดการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม |
การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษ (Slit lamp examination)
ผู้ป่วยจะถูกเชิญให้นั่งลงที่หน้ากล้องจุลทรรศน์ไบโอไมโครสโคปเพื่อทำการตรวจ จากนั้นผู้ป่วยจะต้องวางคางไว้ที่เครื่อง (ดังรูป) จักษุแพทย์จะทำการตรวจเปลือกตา กระจกตา และเลนส์ตา เพื่อหาความผิดปกติที่ส่งผลให้เกิดอาการทางตา โดยขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
การตรวจตาโดยการขยายม่านตา (Dilated eye examination)
ขั้นตอนต่อมาคือการตรวจตาเพื่อดูจอประสาทตา เส้นประสาทตา หลอดเลือดที่เลี้ยงจอประสาทตา และโครงสร้างอื่น ๆ รวมถึงวุ้นตา การขยายรูม่านตาใช้เวลาประมาณ 15 นาที และผู้ป่วยมักได้รับคำแนะนำจากจักษุแพทย์ให้รอ หรือส่งตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม โดยในขั้นตอนนี้จักษุแพทย์จะใช้เลนส์ขยายเพื่อตรวจตา กรณีเด็กหรือผู้ป่วยที่ต้องดูแลเป็นพิเศษอาจต้องใช้เวลาในการตรวจนานขึ้น ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจสามารถใช้หรือไม่สามารถใช้การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษ (slit lamp) ได้ ดังนั้นอาจต้องใช้เครื่องมืออื่น อย่างเช่นการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษแบบถือ (hand-held slit lamp) และ/หรือ การตรวจจอประสาทตาทางอ้อม (binocular ophthalmoscope) (ดังรูป)
การวัดค่าสายตา (Refraction test)
ค่าสายตา หรือ “การตรวจพลังสายตา” บ่อยครั้งจะทำที่คลินิก โดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกอบรมด้านการตรวจวัดสายตา และสุขภาพตาเบื้องต้น หรือการฝึกกล้ามเนื้อตา โดยใช้แว่นตาเป็นอุปกรณ์หลักในการรักษา (optometrists) การทดสอบดังกล่าวจะกำหนดการมองเห็นที่วัดได้จริงของผู้ป่วย (corrected vision) และกำหนดแนวทางการจัดการ ตลอดจนช่วยให้การมองเห็นของผู้ป่วยดีขึ้นโดยการใช้แว่นสายตา หรือคอนแทคเลนส์
การวัดความดันลูกตา (Tonometry)
การวัดความดันลูกตาสามารถทำได้โดยการใช้เครื่องมือสัมผัสกับกระจกตาของผู้ป่วยโดยตรงหรือไม่ก็ได้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าความดันลูกตาของผู้ป่วยอยู่ในระดับปกติ กรณีที่สงสัยโรคต้อหินมุมปิดจะมีการใช้คอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษเพื่อดูมุมระหว่างม่านตา และกระจกตา (irido-corneal angle) และประเมินความรุนแรงของโรค สำหรับการตรวจอื่นเพิ่มเติม ได้แก่ การตรวจการเคลื่อนไหวของลูกตาเพื่อดูความปกติของการวางตำแหน่งของลูกตาทั้งสองข้าง หรือตรวจการเห็นภาพซ้อน และตรวจลานสายตา
การทดสอบเพิ่มเติมที่พบบ่อยที่คลินิกหรือโรงพยาบาล แผนกโรคตา
การถ่ายภาพโครงสร้างตา (Photography of the eye structure)
คลินิกหรือโรงพยาบาลบางแห่งอาจมีการถ่ายภาพดวงตาส่วนหน้าอาจเพื่อค้นหาสิ่งผิดปกติที่สำคัญเพิ่มเติม และช่วยในการอธิบายสภาวะของผู้ป่วย นอกจากนี้การถ่ายภาพโครงสร้างตาดังกล่าวยังช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินไปของโรค หรือการที่โรคดีขึ้นได้ด้วย ซึ่งการถ่ายภาพดวงตาส่วนหลังก็ให้ผลทำนองเดียวกัน
การทดสอบลานสายตา (Visual field test)
การตรวจนี้จะตรวจเป็นระยะ ๆ เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงของลานสายตา และมักตรวจในผู้ป่วยโรคต้อหิน หรือสงสัย/ยืนยันภาวะทางระบบประสาท
ในผู้ป่วยโรคต้อหินจำเป็นต้องตรวจลานสายตาเพื่อติดตามการดำเนินไปของโรค และประสิทธิภาพในการรักษา
การตรวจวิเคราะห์ภาพตัดขวางจอประสาทตาด้วยเลเซอร์ (Optical coherence tomography)
การตรวจวิเคราะห์ภาพตัดขวางจอประสาทตาด้วยเลเซอร์ของจุดภาพชัดจะให้ภาพตัดขวางของจอประสาทตา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการระบุสาเหตุของปัญหาการมองเห็นในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นตา โรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ หรือ สายตาสั้นรุนแรง รวมถึงการถ่ายภาพความหนาของเส้นประสาทตา และพิจารณาสุขภาพของชั้นเส้นใยประสาท
เครื่องวัดแก้วตาเทียมด้วยคลื่นเสียง (Biometry)
การตรวจสำหรับผู้ป่วยโรคต้อกระจก และต้องการผ่าตัดโรคต้อกระจก การตรวจสายตาด้วยวิธีดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อคำนวณเลนส์แก้วตาเทียม
ซึ่งจะถูกฝังเข้าดวงตาผู้ป่วยในระหว่างกระบวนการผ่าตัดต้อกระจก
ซึ่งแพทย์อาจทำการตรวจวัดซ้ำเพื่อให้มั่นใจว่าเลนส์ดังกล่าวมีการคำนวณอย่างถูกต้อง
การตรวจจอประสาทตา (Fundus angiography)
การตรวจจอประสาทตาเป็นการตรวจพิเศษ ซึ่งมักทำในผู้ป่วยที่สงสัยปัญหาการมองเห็นที่เกี่ยวกับจุดภาพชัด และเป็นการตรวจเสริมจากการตรวจวิเคราะห์ภาพตัดขวางจอประสาทตาด้วยเลเซอร์
วิธีนี้จะอาศัยการฉีดสีเฉพาะเข้าทางหลอดเลือดดำ และถ่ายภาพจอประสาทตา โดยใช้เวลา 20 นาที ซึ่งผลการตรวจสามารถออกได้เลย ณ วันเดียวกับที่ทำการตรวจ ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องให้ข้อมูลการแพ้อาหาร หรือยาก่อนการฉีดสี
Dr Umi Kalthum binti Md Noh
Sunway Medical Centre
Jalan Lagoon Selatan, Bandar Sunway
47500 Selangor
DL: +603 7491 1080
LASIK enquiry: +6019 229 8672
Five‐item Dry Eye Questionnaire (DEQ-5).