ความสัมพันธ์และเทคนิคบรรเทาอาการตาแห้ง จากความผิดปกติด้านการนอนหลับ

พฤศจิกายน 3, 2022

ความผิดปกติด้านการนอนหลับเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อวัยผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยคิดเป็น10-30%1 และ 30%-48%2 ของประชากรโลกตามลำดับ และโรคตาแห้งก็เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยส่งผลกระทบต่อ 4.4%-50% ของประชากรทั่วโลกตั้งแต่วัยกลางคน และส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง3 หลายการศึกษาพบว่าความผิดปกติด้านการนอนหลับอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการตาแห้ง

การนอนหลับ และความผิดปกติด้านการนอนหลับ

การนอนหลับเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน และมีความสำคัญต่อการรักษาทั้งสุขภาพจิตใจ และร่างกาย ทั้งนี้ปริมาณความต้องการในการนอนหลับของแต่ละคนจะขึ้นกับอายุ สำหรับทารก (อายุ 4-12 เดือน) แนะนำให้นอน 12-16 ชั่วโมง สำหรับเด็กเล็ก (อายุ 1-2 ปี) แนะนำให้นอน 11-14 ชั่วโมง สำหรับเด็กก่อนวัยเรียน (อายุ 3-5 ปี) แนะนำให้นอน 10-13 ชั่วโมง สำหรับเด็กวัยเรียน (อายุ 6-12 ปี) แนะนำให้นอน 9-12 ชั่วโมง สำหรับวัยรุ่น (อายุ 13-18 ปี) แนะนำให้นอน 8-10 ชั่วโมง และอย่างน้อย 7 ชั่วโมงสำหรับวัยผู้ใหญ่ (อายุ > 18 ปี)4 การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งหมายรวมถึงการนอนหลับอย่างมีคุณภาพด้วยเช่นกัน การนอนหลับที่ด้อยคุณภาพจะสังเกตได้จากการนอนกระสับกระส่าย รู้สึกง่วงนอน หรือรู้สึกเหนื่อยแม้ว่าจะนอนหลับอย่างเพียงพอ นอนกรน หรือหายใจเฮือก การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ และการนอนหลับที่ด้อยคุณภาพมีความสัมพันธ์กับอาการตาแห้ง10 เช่นเดียวกับโรคเรื้อรังหลายโรค อย่างเช่น โรคซึมเศร้า โรคหัวใจ และโรคเบาหวานชนิดที่ 25 

ความผิดปกติด้านการนอนหลับเป็นสภาวะทางการแพทย์ที่ส่งผลกระทบต่อระยะเวลาและคุณภาพของการนอนหลับ ความผิดปกติดังกล่าวแบ่งเป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่6-8 

aโรคนอนไม่หลับ (Insomnia)
อาการนอนไม่หลับเป็นความผิดปกติด้านการนอนหลับที่พบบ่อยที่สุด ผู้ป่วยที่นอนไม่หลับจะใช้เวลานานกว่าจะนอนหลับ หรือไม่สามารถนอนหลับได้อย่างต่อเนื่องตลอดคืน หรือตื่นนอนก่อนเวลาที่ควรจะตื่นหลายชั่วโมง และไม่สามารถนอนหลับต่อได้

aโรคลมหลับ (Narcolepsy)
โรคลมหลับเป็นสภาวะเรื้อรังที่มีลักษณะการนอนหลับมากผิดปกติในตอนกลางวัน และบางครั้งเกิดจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงกะทันหัน (cataplexy) ซึ่งถูกกระตุ้นได้จากการเกิดอารมณ์รุนแรง หรือเกิดความรู้สึกประหลาดใจ

aกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome; RLS)
อาร์แอลเอส (RLS) หรือเรียกอีกชื่อว่า Willis-Ekbom disease โดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสารสื่อประสาทชนิดโดปามีน เกิดจากความต้องการในการขยับยาอย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้ เพื่อบรรเทาความรู้สึกไม่สบายจากการนั่งหรือนอน สภาวะดังกล่าวมักเป็นสาเหตุให้ต้องใช้เวลานานกว่าจะนอนหลับ และส่งผลรบกวนการนอนหลับ ซึ่งนำมาสู่อาการง่วงนอนตอนกลางวันได้

aภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea)
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นภาวะที่มีการหยุดหายใจซ้ำๆ ระหว่างการนอนหลับ อาการจะประกอบด้วย กรนเสียงดัง หายใจเฮือก ตื่นขึ้นมาพร้อมอาการปากแห้ง ปวดศีรษะตอนเช้า เป็นต้น

ความผิดปกติด้านการนอนหลับอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคตาแห้ง

มีหลากหลายกลไกที่มีความเป็นไปได้ถูกนำเสนอเพื่ออธิบายเหตุผลว่า ทำไมความผิดปกติด้านการนอนหลับจึงเป็นสาเหตุของโรคตาแห้งได้ โดยสาเหตุหลักมาจากการหลั่งน้ำตา และความเสถียรของฟิล์มน้ำตาที่ลดลง9, 10 สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม อาจเป็นไปได้ว่าความผิดปกติด้านการนอนหลับอาจส่งผลให้

Icon1ระดับฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งช่วยในการทำงานของต่อมน้ำตา และต่อมไขมันที่เปลือกตาลดลง โดยการลดลงของระดับฮอร์โมนแอนโดรเจน อาจสัมพันธ์กับการระเหยน้ำตาที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนำมาสู่อาการตาแห้งได้

ic2เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของการหลั่งน้ำตา ส่งผลให้รบกวนการทำงานของต่อมน้ำตา

ic3ลดการทำงานของระบบประสาท ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของร่างกายระหว่างพัก รวมถึงการหลั่งน้ำตา ส่งผลให้การไหลของน้ำตาลดลงอย่างรวดเร็ว

อาการตาแห้งอาจรบกวนการนอนหลับ

แม้ว่าความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (casual relationship) ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่หลายการศึกษาเสนอว่าโรคตาแห้งอาจลดคุณภาพการนอนหลับได้11, 12 ความผิดปกติด้านการนอนหลับ อย่างการง่วงนอนตอนกลางวัน การนอนไม่หลับ การนอนน้อย ล้วนมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับอาการตาแห้ง13 ยิ่งกว่านั้นการใช้ยาหยอดตาสำหรับรักษาโรคตาแห้งในผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยจะช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโรคตาแห้งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการนอนหลับ โดยสามารถอธิบายได้ด้วย 2 สมมติฐาน ดังนี้

1. ผู้ป่วยอาจเป็นทุกข์จากการเป็นโรคตาแห้ง เช่น รู้สึกไม่สบายตา ตาล้าจากการมองเห็นที่พร่ามัว และตาไวต่อแสง
2. การหลั่งน้ำตาเพื่อดักจับโมเลกุลที่เกี่ยวกับการอักเสบ และจุลินทรีย์บนผิวหน้าลูกตาที่ลดลง นำมาสู่การระคายเคืองตา และการนอนหลับยาก12

เทคนิคที่ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น และบรรเทาอาการตาแห้ง

เนื่องจากการนอนหลับ และอาการตาแห้งเป็นความสัมพันธ์แบบสองทิศทาง (bidirectional relationship) โดยการบรรเทาอาการตาแห้งจะช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ และในทางกลับกันการเพิ่มคุณภาพการนอนหลับจะช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้ โดยเทคนิคบางอย่างที่จะช่วยให้คุณนอนหลับได้ดีขึ้นจะแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนเข้านอน: การใช้เวลากับอุปกรณ์ดิจิทัล อย่างโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และโทรทัศน์ สามารถลดอัตราการกะพริบตา ส่งผลให้เกิดอาการปวดตา และตาแห้งตามมา นอกจากนี้แสงสีฟ้าจากอุปกรณ์ดังกล่าวยังเป็นส่งผลให้ต้องใช้เวลานานกว่าจะนอนหลับอีกด้วย14 ดังนั้นควรการวางโทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ตให้ห่างจากตัว ตลอดจนปิดโทรทัศน์ และแล็ปท็อปด้วยเช่นกัน
  • เพิ่มความชื้นในอากาศ: หากอากาศในห้องนอนของคุณแห้ง โดยเฉพาะในฤดูหนาว แนะนำให้ติดตั้งเครื่องทำความชื้นเพื่อลดอาการตาแห้งเมื่อตื่นนอน
  • ถอดคอนแทคเลนส์: แนะนำให้ถอดคอนแทคเลนส์ก่อนเข้านอน ยกเว้นกรณีที่คอนแทคเลนส์ถูกออกแบบมาสำหรับตอนกลางคืน
  • เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ดวงตาตอนกลางคืน: คุณสามารถใช้ยาหยอดตา (น้ำตาเทียม) เจลป้ายตา และขี้ผึ้งป้ายตาได้หลากหลายชนิดก่อนเข้านอน อย่างไรก็ตามทางที่ดีควรปรึกษาจักษุแพทย์ก่อนใช้ยา
  • ซักผ้าปูที่นอน: ควรซักผ้าปูที่นอนเป็นประจำเพื่อกำจัดสิ่งต่าง ๆ ที่ส่งผลให้ดวงตาเกิดการระคายเคือง
  • ฝึกนิสัยการนอนที่ดี: เข้านอน และตื่นนอนให้ตรงเวลา ตรวจสอบให้แน่ใจว่าห้องนอนมีสภาพความเป็นอยู่ที่สะดวกสบาย (เงียบ มืด และอุณหภูมิเหมาะสม) หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ และการใช้สารกระตุ้นก่อนนอน รวมถึงให้มีการออกกำลังกายบ้าง

เมื่อไหร่ที่ต้องไปพบแพทย์

หากคุณมีปัญหาการนอนหลับที่รุนแรง หรือเรื้อรัง และยังคงมีอาการของโรคตาแห้งอยู่ ควรปรึกษาแพทย์

Find the nearest Eye Clinic
เอกสารอ้างอิง
  1. Bhaskar, S.; Hemavathy, D.; Prasad, S. Prevalence of Chronic Insomnia in Adult Patients and Its Correlation with Medical Comorbidities. J. Fam. Med. Prim. Care 2016, 5 (4), 780. https://doi.org/10.4103/2249-4863.201153.
  2. Patel, D.; Steinberg, J.; Patel, P. Insomnia in the Elderly: A Review. J. Clin. Sleep Med. 2018, 14 (06), 1017–1024. https://doi.org/10.5664/jcsm.7172.
  3. Uchino, M.; Schaumberg, D. A. Dry Eye Disease: Impact on Quality of Life and Vision. Curr. Ophthalmol. Rep. 2013, 1 (2), 51–57. https://doi.org/10.1007/s40135-013-0009-1.
  4. CDC. Sleep for good health. Centers for Disease Control and Prevention. https://www.cdc.gov/sleep/features/getting-enough-sleep.html (accessed 2022-09-12).
  5. CDC. Sleep and Sleep Disorders. Centers for Disease Control and Prevention. https://www.cdc.gov/sleep/index.html (accessed 2022-09-12).
  6. CDC - Key Sleep Disorders - Sleep and Sleep Disorders. https://www.cdc.gov/sleep/about_sleep/key_disorders.html (accessed 2022-09-12).
  7. Sleep apnea - Symptoms and causes. Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sleep-apnea/symptoms-causes/syc-20377631 (accessed 2022-09-13).
  8. Restless legs syndrome - Symptoms and causes - Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/restless-legs-syndrome/symptoms-causes/syc-20377168 (accessed 2022-09-13).
  9. Zheng, Q.; Li, S.; Wen, F.; Lin, Z.; Feng, K.; Sun, Y.; Bao, J.; Weng, H.; Shen, P.; Lin, H.; Chen, W. The Association Between Sleep Disorders and Incidence of Dry Eye Disease in Ningbo: Data From an Integrated Health Care Network. Front. Med. 2022, 9, 832851. https://doi.org/10.3389/fmed.2022.832851.
  10. Lim, E. W. L.; Chee, M. L.; Sabanayagam, C.; Majithia, S.; Tao, Y.; Wong, T. Y.; Cheng, C.-Y.; Tong, L. Relationship Between Sleep and Symptoms of Tear Dysfunction in Singapore Malays and Indians. Investig. Opthalmology Vis. Sci. 2019, 60 (6), 1889. https://doi.org/10.1167/iovs.19-26810.
  11. Almutairi, R.; Algezlan, S.; Bayamin, R.; Alrumaih, S.; Almutairi, R.; Alkahtani, R.; Almazrou, A. A. The Association Between Dry Eye and Sleep Quality Among the Adult Population of Saudi Arabia. Cureus 2022. https://doi.org/10.7759/cureus.22736.
  12. Ayaki, M.; Toda, I.; Tachi, N.; Tsubota, K.; Negishi, K. Preliminary Report of Improved Sleep Quality in Patients with Dry Eye Disease after Initiation of Topical Therapy. Neuropsychiatr. Dis. Treat. 2016, 329. https://doi.org/10.2147/NDT.S94648.
  13. Lee, W.; Lim, S.-S.; Won, J.-U.; Roh, J.; Lee, J.-H.; Seok, H.; Yoon, J.-H. The Association between Sleep Duration and Dry Eye Syndrome among Korean Adults. Sleep Med. 2015, 16 (11), 1327–1331. https://doi.org/10.1016/j.sleep.2015.06.021.
  14. Gupta, P.; Rana, M.; Ratti, M.; Duggal, M.; Agarwal, A.; Khurana, S.; Jugran, D.; Bhargava, N.; Ram, J. Association of Screen Time, Quality of Sleep and Dry Eye in College-Going Women of Northern India. Indian J. Ophthalmol. 2022, 70 (1), 51. https://doi.org/10.4103/ijo.IJO_1691_21.
Detect dry eye
 
Let’s quickly assess your symptoms using the 
Five‐item Dry Eye Questionnaire (DEQ-5).
START NOW
 
This quick test is not a medical evaluation and does not replace a visit to an eye care professional who can take decisions on medical treatment, diagnosis, or prescription.